ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของโครโมโซม X มักพบในเพศชาย ซึ่งการขาดเอนไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ดังนั้น ในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD นั้น ควรระมัดระวังทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร การรับประทานยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรต่าง ๆ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
รายชื่อยาที่ห้ามใช้ในผู้ป่วยภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
กลุ่มยาแก้ปวด ลดไข้ ได้แก่ Aspirin, Aminopyrine, Dipyrone(Metamizole), Phenacetin
กลุ่มยารักษาโรคมาลาเรีย ได้แก่ Chloroquine, Quinine, Primaquine, Hydroxychloroquine
กลุ่มยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยากลุ่ม Quinolone, Nitroturan, Chloramphenical
กลุ่มยาเคมีบำบัด เช่น Doxorubicin
ยากลุ่มซัลฟา เช่น Dapsone, Co-trimoxazole
ยาโรคหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ Procainamide, Quinidine และDopamine
อื่น ๆ ได้แก่ Vitamin C, Vitamin K (Menadione, Phytomenadione), Methylene blue, Toluidine blue, สารหนู และ Naphthalene
อาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่ ถั่วเหลือง
สารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ โทนิค (tonic) โซดาขิง การบูร
การปฏิบัติตัว
ไม่ควรซื้อยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรกินเอง
เมื่อมีอาการซีด เหลือง หรือปัสสาวะสีเข้มขึ้น (สีน้ำโคล่า) ควรรีบไปพบแพทย์
หลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วปากอ้า ไวน์แดง พืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่ ถั่วเหลือง
หลีกเลี่ยงการสูดดมลูกเหม็น การบูร
แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่ามีภาวะพร่อง G6PD พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัวที่โรงพยาบาลออกให้ ภายในบัตรจะระบุชื่อยาและสารเคมีที่ต้องหลีกเลี่ยง
ที่มา : https://oryor.com/
Relate topics
- ทาผิวด้วยวิตามินซีแบบฉีด ไม่มีผลทำให้ขาวใส
- สายด่วนที่ควรรู้ช่วง COVID-19
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลตรวจเครื่องดื่มเกลือแร่
- รู้หรือไม่ ขายยาออนไลน์ผิดกฎหมาย
- เว้นระยะห่างทางสังคมด้วยการประชุมออนไลน์ เลือกใช้โปรแกรมไหนดี?
- มารู้จักผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค
- อ่านก่อนซื้อ คิดก่อนใช้ คนไทยสุขภาพดี การอ่านฉลากโภชนาการแบบ GDA
- กรมอนามัยเปิดข้อมูล คุณภาพน้ำจาก ตู้กดน้ำ ทั่วประเทศ ดื่มได้หรืออี๋แหวะ
- วิธีการใช้คูปองทีวีดิจตอลที่ถูกต้อง
- อีก 15 วัน! “ดาวเทียม-เคเบิล” ไม่มีช่อง 3 อนาล็อก