NTBC Public Forum ย้ายคลื่น 700 MHz ใครได้ใครเสียและมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอประชุม กสทช.

by Nalinee @9 ก.พ. 62 16:58 ( IP : 1...236 ) | Tags : กิจกรรม
photo  , 1728x972 pixel , 147,684 bytes.

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 สมาคมผู้บริโภคสงขลาได้เข้าร่วมเวที NTBC Public Forum ย้ายคลื่น 700 MHz ใครได้ใครเสียและมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารหอประชุม กสทช.

โดยมีนางสาวสุภิญญา  กลางณรงค์  อดีตกรรมการกสทช.และประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ    สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  กล่าวเปิดงานและคุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ดังนี้ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เห็นด้วยประเด็นการใช้คลื่นให้มีความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจ ตั้งข้อสังเกตว่ากระบวนการเร็วผิดปกติ สำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรวมถึงผู้ลงทุนด้วยมองว่า 5G นั้นเร็วเกินไปสำหรับประเทศไทย หากมีการประมูลคลื่น 700 MHz ใน 2 – 3 เดือนนี้ ควรทำแผนทั้งระบบ เช่น ผู้ประกอบการจะยุติเมื่อไหร่, มีการคำนวณค่าชดเชยให้ชัดตามส่วน ในปี 2563-2564 จะมีความชัดเจนเรื่อง 5G ให้เห็นส่วนผู้ประกอบการ Use Case ที่ชัดเจนมากกว่าให้ผู้ประกอบการต่างชาติได้ประโยชน์

ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ มองถึงแนวโน้มการดูทีวีในอนาคตลดลง พฤติกรรมของคนจะมีการเปลี่ยนแปลง ขาดความชัดเจนใครได้ใครเสียจากการประมูลคลื่น 700 MHz ประเด็นที่ กสทช. ต้องทำคือการทำให้ 5G นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดและควรเอาเงินมาพัฒนาทีวีดิจิทัลให้สามารถสร้าง content ที่ดีขึ้น ทีวีสาธารณะ คลื่นของภาคประชาชนที่มีประโยชน์กับส่วนรวมยังไม่มีการดำเนินการที่ชัดเจน

สารี อ๋องสมหวัง พูดถึงช่วงการเปลี่ยนผ่านที่ผ่านมาก็ยังทำให้ผู้บริโภคสับสนและผลกระทบต่อผู้บริโภคก็ขาดการวิเคราะห์ กสทช.ทำความสับสนให้มากขึ้นโดยยังไม่ได้แก้ปัญหาเดิมๆให้ผู้บริโภครับรู้ ทั้งข้อมูลที่จะกระทบในอนาคต 5G หรือ IOT จะมีผลต่อผู้บริโภคอย่างไร ปัญหาเดิมที่ กสทช.ยังไม่แก้เรื่องคุณภาพการคุ้มครองผู้ประกอบการกำกับโฆษณาและผู้ประกอบการเองแม้เป็น sunset business ก็เป็นเรื่องท้าทายการทำเนื้อหาเชิงคุณภาพ โดยการสนับสนุนจากกองทุนสื่อและควรรักษากติกาสื่อที่ดี

สุภิญญา กลางณรงค์ มีการขยาย Road Map วางแผนคลื่น 700 MHz ที่จะทำเปลี่ยนกิจการโทรทัศน์เป็นกิจการโทรคมนาคม แต่มีการขยายเวลาเพิ่มขึ้นในระยะยาวก็ต้องทำตาม ITU เป็นคลื่นโทรคมนาคม การยูเทิร์นนโยบายนี้ยังไม่มีการทำ IAA ประเมินผลกระทบ ซึ่งการชดเชยช่องดิจิทัลถึง 40,000 ล้าน เป็นความจริงได้ยากและการไม่มีการกำกับดูแลคู่แข่ง(ออนไลน์) ของทีวีดิจิทัลที่คนเข้าถึงง่ายจะเป็นการทำลายทีวีดิจิตัลโดยตรง

เจนพสิษฐ์ ปู่ประเสริฐ  แอดมินเพจ ยามเฝ้าจอ : พูดถึงประเด็น ความไม่ชัดเจนและความเร่งรีบในการเรียกคืนคลื่นโดยยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการชดเชยเยียวยาและการพิจารณาผลกระทบกับผู้บริโภครวมถึง สถานีส่งสัญญานดิจิตอลด้วย

ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ พูดถึงความสำคัญของสื่อทีวี เห็นพลวัตของการเปลี่ยนแปลง ว่าไม่มีระบบเตือนภัย ขาดความพร้อมปกป้องสนับสนุนที่ชัดเจนในสถานการณ์จริง โดยในหลายประเทศใช้กิจการโทรทัศน์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
สมชัย สุวรรณบรรณ ย้ำเจตนารมย์เรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ 20%  เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมใช้ คลื่น 700 MHz นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค เรียก Public Good ความแรงสามารถไปได้ไกล มีประโยชน์ต่ออนาคต IOT ในกิจการเทเลคอม เป็นที่หมายปองของธุรกิจ เรียก Private Good

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เวทีประชุมนี้ไม่ได้ทำกระแสความคาดหวังเปลี่ยนแต่จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน มองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในอดีตคลื่น 700 MHz ในอดีตรัฐจัดสรรให้ทีวิดิจิทัลภายหลังมีการค้นพบ คลื่น 700 MHz จะพัฒนาเป็นโทรคมนาคมได้ ซึ่งคลื่น 700 MHz นั้น เป็นคลื่นที่ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคมเป็นกติกาโลก ช่วงของการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่และกฎหมายของ กสทช. ที่มีการแก้ไข ให้กสทช. สามารถเรียกคืนคลื่นได้ เช่น คลื่นที่ไม่ถูกใช้ประโยชน์ คลื่นใช้ประโยชน์อย่างไม่คุ้มค่าหรือที่จะใช้แล้วคุ้มค่ายิ่งขึ้น เมื่อมีการเรียกคืนแล้วกสทช. อาจจะมีการจัดสรรคลื่นทดแทนให้และจ่ายค่าทดแทนไปถึงค่ามัค โดยต้องมีการประเมินถึงผลกระทบก่อน

โดยประเด็นการพูดคุยนั้นพูดถึงการย้ายคลื่น 700 MHz ที่เป็นคลื่นสำหรับทีวิดิทัลจะย้ายไปในสำหรับโทรคมนาคมเพื่อรองรับระบบ 5G คลื่น 700 MHz เป็นคลื่นที่เหมาะสมกับการสำหรับกิจการโทรคมนาคมตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเคยประกาศไว้ แต่จะเป็นแผนงานในอนาคตของ กสทช. ซึ่งจะมีการบีบอัดคลื่นของทีวีดิจิทัลให้เหลือ 510 MHz – 694 MHz และเพื่อรองรับทีวีชุมชนให้มาใช้คลื่น 470 MHz ในอนาคต โดยผู้ประกอบการสามารถเลิกได้แต่ กสทช. จะไม่มีการชดเชยหรือผู้ประกอบการที่ยังมีการทำต่อแล้วการบีบอัดคลื่นแล้วเกิดผลกระทบจะมีการชดเชยจาก กสทช. แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการวางกฎเกนฑ์การชดเชยต่อผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล

ความคิดเห็นในมุมผู้บริโภค

  1. อยากเห็นความชัดเจนของ กสทช.และผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล

  2. ผู้บริโภคได้รับประโยชน์อะไรบ้างจาก 5G

  3. มองว่าประเทศยังไม่พร้อมสำหรับ 5G

  4. ในทีวีดิจิทัลมีการ Tie in ทุกส่วน

  5. ทีวีดิจิทัลควรมีการปรับปรุงให้มีความเข้มแข็งขึ้นสร้าง content ที่ดีขึ้น

  6. กสทช. ควรวางระบบ 5G

ในเวทีประชุมมีข้อเสนอต่อ กสทช. ดังนี้

  1. วาง Road Map  5G

  2. เสนอให้แยกการประมูลทีวีดิจิทัลและการประมูล 5G ออกจากกัน

  3. กสทช. ควรนำเงินมาพัฒนาทีวีดิจิทัลเพื่อพัฒนาให้เกิด content ที่ดีขึ้น

Relate topics