การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนทิศทางและนโยบายการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่

by Nalinee @16 พ.ย. 61 22:13 ( IP : 171...70 ) | Tags : กิจกรรม
photo  , 960x720 pixel , 84,014 bytes.

การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนทิศทางและนโยบายการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ วันพุธ ที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ระหว่างเวลา 09.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

โดยมีประเด็นการประชุมดังนี้

การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562

            1.1 ภาพรวมงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2562

                  1.  งบเหมาจ่ายรายหัว 166,445.22 ล้านบาท (หักเงินเดือนภาครัฐคงเหลือ)

                  2. งบผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3,046.31 ล้านบาท

                  3. งบผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 8,281.79 ล้านบาท

                  4. งบควบคุมป้องกันความรุนแรงของโรคเรื้อรัง 1,135.02 ล้านบาท

                  5. งบเพิ่มเติม รพ. พื้นที่กันดารเสี่ยงภัยและจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,490.28 ล้านบาท

                  6. งบผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 916.80 ล้านบาท

                  7. งบเพิ่มเติมบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว 268.64 ล้านบาท

            * งบเพิ่มเติมบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัวและ งบเพิ่มเติม รพ. พื้นที่กันดารเสี่ยงภัยและจังหวัดชายแดนภาคใต้งบอยู่ในความดูแลของกระทรวงสาธารณสุข

            1.2  งบเหมาจ่ายรายหัว ปี 2562

                  - 3,426.56 บาท/คน

                  - ประเภทบริการ 9 ประเภท ประเภทผู้ป่วยในมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด คิดเป็น 7.9% หรือ 95.22 บาท เพราะการแอดมิทมีราคาค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น

    1.3  ประเด็นเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

                  - งบบริการผู้ป่วยนอกทั่วไป เป็นงบเหมาจ่ายตามจำนวนประชากร มีการปรับอัตราตามช่วงอายุ กลุ่มคนสูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยมากที่สุด รองลงมาเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี    และบริการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่ (อยู่ในงบผู้ป่วยนอกทั่วไป) มีการกันงบออกมาจากงบผู้ป่วยนอกทั่วไป

                  - งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป  มีการบริหารแบบปลายปิด มีการเต็มงบเข้าไป มีการการันตีตัวเลขคงที่  โรงพยาบาลในประเทศไทย Base Rate ที่ 8,050 บาท เท่ากันกับทุกเขต

                  - งบบริการ P&P (งบส่งเสริมป้องกัน) เดิมเหมาจ่ายเป็นก้อน ตอนหลังพบว่ามีหัตการบางอย่างที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น นโยบายฝากท้องที่ฟรีทุกสิทธิ์ เปลี่ยนเป็นการจ่ายตามรายการ (Fee Schedule) 8 รายการ แล้วเอา 8 รายการมาคำนวนเป็นเงินแล้วตัดมาเป็นปริมาณเงิน แล้วตัดออกมาจาก Basic Service

                  - อื่นๆ เพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ 4 รายการ หน่วยบริการเบิกวัคซีนพิษสุนัขบ้า แทนการเหมาจ่ายในงบบริการผู้ป่วยนอก นำร่องความร่วมมือการจัดบริการล้างไตทางช่งท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ เน้นการควบคุมภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1  และปรับสัดส่วนการจ่ายชดเชยตามผลงานและคุณภาพผลงานบริการแบบ PCC มากขึ้น

สรุปการประชุมเครือข่ายหลักประกันสุขภาพประชาชนภาคใต้ (ตอนล่าง)

ความคาดหวังต่อกลไกของระบบหลักประกันสุขภาพต่อ สปสช. คือ ควรจะสนับสนุนให้มีวงคุยเฉพาะถิ่นกับภาคประชาชน

หนุนเสริมให้ภาคเครือข่ายภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง สนับสนุนการทำงานภาคประชาชนในทุกด้าน สปสช.
ไม่ได้เป็นเจ้าของระบบแต่ประชาชนเป็นเจ้าของระบบ    และการส่งเสริมต้องมองในระยะยาว ส่งเสริมจุดอ่อน
ของแต่ละเครือข่ายและให้ความสำคัญกับเครือข่ายต่างๆ

สรุปประเด็นข้อเสนอจากเครือข่าย

            - จัดพัฒนาศักยภาพผู้แทนประชาชนที่ส่งไปเป็นกรรมการกองทุนตำบล

            - มีการประชุมหรือมีวงคุยพบปะร่วมกันระหว่างเครือข่ายภาคประชาชน อปสข. อคม. ม.41 50(5) และผู้บริหารสปสช. เป็นระยะ

            - มีวงก่อนประชุม อปสข. อคม. (pre อปสข./pre อคม.)

            -  เสนอให้มีการประชุม IT ผ่าน facebook

            - ตั้งทีมการประชุมก่อนการประชุมอปสข. อคม. เพื่อตั้งประเด็นการทำงาน

            - ทบทวนภาพฝันร่วมกันระหว่าง สปสช.และภาคประชาชน

            - เวทีภาพฝัน 10 ปี ข้างหน้า

งาน PPA (บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จัดสรรเพื่อใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะในระดับพื้นที่)

      โครงการวัคซีน 5 จังหวัด งบประมาณ 600,000 บาท

          - 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

          - สตูล สงขลา

          - หาข้อมูลเด็ก 0 – 5 ปี ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

          - จัดกลุ่มคนไม่ฉีดวัคซีน

          - ในการพัฒนาตัวโครงการต้องมีการหาข้อมูลมาจาก 43 แฟ้ม เพื่อหากลุ่มเป้าหมาย

    โครงการ Cardio Vascular Disease (CVD)  งบประมาณ 700,000 บาท

          - เป็นโครงการโรคหัวใจและหลอดเลือด

          - หาแกนนำจังหวัดละ 100 คน

          - คิดค่าบริการตามรายหัว ประมาณหัวละ 1000 บาท

          - มีการใช้โปรแกรม Thai CV risk score เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในการทดสอบ

          - แกนนำต้องมีความเข้าใจเรื่องกระบวนการคัดกรองเพื่อหากลุ่มเสี่ยง

          - แกนนำนำกลุ่มเสี่ยงไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วนำกลุ่มเสี่ยงมาทดสอบอีกครั้งแล้วหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป

Relate topics