อบรมเชิงปฏิบัติการกรรมการทวงหนี้ เรื่อง "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558"

by Areeya @13 พ.ย. 61 12:04 ( IP : 183...100 ) | Tags : ปฏิบัติการผู้บริโภค
photo  , 1548x871 pixel , 106,634 bytes.

อบรมเชิงปฏิบัติการกรรมการทวงหนี้ เรื่อง "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558" ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรม ทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น จากการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนได้รับเชิญให้เข้าไปเป็นคณะกรรมการกำกับทวงถามหนี้ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัดการมีองค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำงานในฐานะคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและยังสามารถช่วยเหลือผู้บริโภคกรณีถูกติดตามทวงหนี้ไม่เป็นธรรมให้ได้รับความคุ้มครรอง โดยมีประเด็นการอบรมดังนี้
1.การนำเสนอข้อมูลสถานการณปัญหาหนี้สิน พบว่ามีการร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้มากที่สุดคือหนี้บัตรเครดิต รองลงมาคือการเช่าซื้อ สุดท้ายหนี้อื่นๆ
2.การแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ โดยกระทรวงการคลังร่วมกับ11หน่วยงานได้เริ่มบูรณาการการทำงานร่วมกันดังนี้

  • ดำเนินการอย่างจริงจรังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย

  • เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ

  • ลดภาวะหนี้นอกระบบโดยการประนอมหนี้
  • เพิ่มศักยภาพของลุกหนี้นอกระบบ
  • สนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรการเงินที่เกี่ยวข้อง

3.การแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบ ซึ่งมีโครงการที่น่าสนใจคือ "โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน" หรือ "โครงการคลินิคการแก้หนี้"

ประโยชน์ของโครงการมีดังนี้

  • ไม่ถูกทวงหนี้จากเจ้าหนี้หลายราย
  • ทำสัญญาแก้หนี้แค่ฉบับเดียว
  • เงินผ่อนชำระคงที่นานสูงสุด10ปี
  • อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน4-7%ต่อปี
  • ไม่ก่อหนี้เพิ่มและไม่พึ่งหนี้นอกระบบ

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

  • บุคคลธรรมดาที่มีรายได้
  • อายุไม่เกิน 65 ปี
  • มีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลค้างเกิน3เดือน ที่มี2ธนาคารขึ้นไป
  • ยอดหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท

4.พ.ร.บ.ทวงถามหนี้2558มีแล้วลูกหนี้ได้ประโยชน์อย่างไร

วิธีการปฏิบัติในการติดต่อกับลูกหนี้เพื่อการทวงถาม

        - สถานที่ติดต่อในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ มาตาร9(1)         - เวลาในการติดต่อโดยบุคคลโทรศัพท์สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น มาตรา9(2) ในวันจ-ศติดต่อได้ตั้งแต่08.00-20.00น ในวันหยุดราชการติดต่อได้ตั้งแต่ 08.00-19.00 น         - จำนวนครั้งที่ติดต่อต้องเหมาะสม มาตรา9(3)         - การแสดงตนของผู้รับมอบอำนาจ มาตาร9(4) ผูในกรณีผู้ทวงถามหนี้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้จะต้องแจ้งชื่อและนามสกุลและแสดดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย         - การชำระหนี้ มาตาร9(10) ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้ชำระหนี้และต้องออกหลักฐานการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ด้วย

ข้อห้ามในการทวงถามหนี้

      - ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ลูกหนี้เพื่อเป็นการทวงหนี้ มาตรา8วรรคแรก       - ห้ามแจ้งความเป็นหนี้กับบุคคลอื่น มาตรา8วรรคสอง(2)       - ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อธุรกิจ ในการติดต่อสอบถามที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ มาตรา8วรรคสอง(3)       - ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิด มาตรา8วรรคสอง(4)กล่าวคือในการติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อกับลูกหนี้       - ห้ามทวงถามหนี้โดยการข่มขู่       -  ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้โดยใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น มาตรา11(2)       - ห้ามผู้ทวงถามหนี้ กระทำการทวงหนี้โดยการแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อืื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้       - ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร       - ห้ามผู้ทวงถามหนี้ใช้ข้อความ  เครื่องหมาย  สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้

5.บทเรียนการทำหน้าที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

Relate topics