เตือนผู้บริโภคใช้วิจารณญาณซื้อรังนก ชี้คุณค่าเท่าถั่วลิสง 2 เมล็ด

ข่าวฐานเศรษฐกิจ..จากการที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผลการศึกษาผลิตภัณฑ์รังนกสำเร็จรูปชื่อดัง 4 ยี่ห้อ โดยพบว่าใช้รังนกแห้งเป็นส่วนประกอบเพียงร้อยละ 1.1-1.4 แต่กลับโฆษณาบนฉลากโดยใช้คำว่ารังนกแท้ 100% จากถ้ำธรรมชาติ ร.ศ.ประไพศรี ศิริจักรวาล จากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ถ้าพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการของรังนกสำเร็จรูปจากผลการวิเคราะห์สารอาหารของรังนกชื่อดัง 2 ยี่ห้อจะพบว่า รังนก 1 ขวดมีปริมาณพลังงานน้อยกว่าไข่ไก่ 1 ฟอง ขณะที่ปริมาณโปรตีนมีเพียง 0.25 กรัม หรือหากเปรียบเทียบกับปริมาณโปรตีนในไข่ไก่ 1 ฟองจะต้องรับประทานรังนกถึง 26 ขวด โดยถ้าคิดเป็นเงินสูญเสียกว่า 3,250 บาท และถ้าต้องการปริมาณโปรตีนเท่ากับนม 1 กล่อง จะต้องรับประทานรังนกถึง 34 ขวด สูญเสียเงินกว่า 4,250 บาท หรือเท่ากับว่ารังนก 1 ขวดจะมีโปรตีนเท่ากับ 2 ช้อนโต๊ะ หรือถั่วลิสงเพียง 2 เมล็ดเท่านั้น
ร.ศ.ประไพศรี กล่าวต่อว่าผู้บริโภคควรใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์รังนก เพราะขณะนี้ยังไม่มีการบังคับให้ระบุฉลากที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางโภชนาการ จึงยากต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ และเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ปล่อยโฆษณาเพลินสะเทือน กสทช.มั้ย..!!!

ภาพประกอบนี้อาจไม่เกี่ยวกับเนื้อหาโดยรวม แต่กระตุกให้เราคิดถึงเหตุการณ์บ่อยครั้งที่เราได้อ่านข่าวนักการเมืองเกาหลีถูกตัดสิน ซีอีโอตัวเป้งๆถูกจำคุก ครั้งนี้วงการเพลงสะเทือนเพราะสินบนในการเปิดเพลง ทั้งวงการโทรทัศน์ วิทยุ นี่ถือเป็นจริยธรรมในวงการธุรกิจ ขณะที่ในไทยเราต้องทนฟังการโฆษณาทั้งวันทั้งคืนของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยาอย่างไร้จรรยาบรรณ ผู้จัดรายการเหล่านี้ สถานีวิทยุธุรกิจที่ฉกฉวยช่องทางการสื่อสารของชุมชนไปใช้อย่างหน้าด้านๆกลับลอยนวลอยู่ได้เพราะ กสทช.บอกว่าเขาเหล่านั้นมีใบอนุญาตก่อนปี 2552อันเป็นปีที่ออกประกาศล่าสุด และสามารถขอต่อทะเบียนใบอนุญาตหรือต่ออายุการทดลองออกอา่กาศได้ถ้าถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิค ...!! (เป็นการบอกเล่าถึงข้อมูลในเวทีระดมข้อเสนอในรูปแบบองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา 12 กค. 54 ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด)นั่นคือมีการปรับข้อกำหนดจนเบายิ่งกว่านุ่น ขาดกลไกการกำกับเนื้อหากระทั่งการจำกัดเรื่องเวลาโฆษณา
จำลององค์การอิสระผู้บริโภค...สสจ.ชวนกสทช.จัดระเบียบวิทยุ

อาสาสมัครผู้บริโภคประกาศจะจัดทำเรื่องส่ง สสจ.เพื่อเร่งดำเนินการร่วมกับ กสทช.เขต 4 จัดการสื่อบ่อนทำลายชุมชน สร้างความเชื่อการบริโภคผิดๆ
จากเวทีระดมข้อเสนอในรูปแบบองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคจังหวัดสงขลา 12 กค. 54 ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เริ่มแนะนำตัวโดยนางสาวบารีย๊ะ ยาดำผู้ประสานงานศูนย์ภายใต้สมาคมผู้บริโภคสงขลา โดยนำเสนอข้อมูลจากการเฝ้าฟังวิทยุและเคเบิลพบการจัดรายการเปิดสปอตโฆษณาผิดกฎหมายอย่างโจ่งครึ่ม ต่อมานายดุริพัฒน์ได้นำเสนอข้อมูลด้านกฎหมายที่เป็นระเบียบปฏิบัติงานกำกับการโฆษณาที่แยกตามตัวผลิตภัณฑ์คือพรบ.อาหารไม่ต้องขออนุญาตโฆษณาแต่ถ้ามีการโฆษณษาว่ามีสรรพคุณทางยาและเกินจริงผิด สำหรับยาต้องขออนุญาตการโฆษณาและถ้ามีการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตก็จะผิดเบื้องต้นและถ้าเป็ฯการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงก็๗ะมีโทษปรับหนักขึ้นไม่ต่ำกว่า2หมื่นบาท แต่ปัญหาคือสาวไม่ถึงต้นตอผลิตภัณฑ์หากจะจัดการโดยการปิดสถานีวิทยุต้องร่วมมือกับกสทช. ซึ่งกสทช.บอกว่าขณะนี้ยังต้องรอการแต่งตั้งกสทช.ตามพรบกสทช.ปี2554 ถ้าสถานีเหล่านั้นมีใบอนุญาตก่อนปี 2552อันเป็นปีที่ออกประกาศล่าสุด และสามารถขอต่อทะเบียนใบอนุญาตหรือต่ออายุการทดลองออกอา่กาศได้ถ้าถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิค ...!! นั่นคือมีการปรับข้อกำหนดจนเบายิ่งกว่านุ่น ขาดกลไกการกำกับเนื้อหากระทั่งการจำกัดเรื่องเวลาโฆษณา
ผู้บริโภคร้อง สบท.โดนทวงหนี้โทรคม ทำให้เสื่อมเสียขู่เข้าบัญชีดำ

ผู้บริโภค ร้อง สบท. โดน บ.โทรคม ทวงหนี้ไม่เป็นธรรม ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ล่าสุดพบเป็นหนี้ 700 บาท ขู่ไม่ใช้หนี้โดนเข้าบัญชีดำ ขณะที่ ผอ.สบท. เผยเป็นหนี้ต้องใช้ แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย…นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. กล่าวว่า มีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งร้องเรียนมายัง สบท.ว่า ถูกบริษัทโทรคมนาคมใช้วิธีทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ให้ข้อมูลเท็จเพื่อข่มขู่ หรือทำให้เสื่อมเสีย ขณะเดียวกัน พบว่า บริษัทโทรคมนาคมใช้วิธีการทวงหนี้ 2 รูปแบบคือ การส่งจดหมายโดยบริษัทโทรคมนาคมที่เป็นเจ้าหนี้เอง หรือการจ้างบริษัทเอกชนให้ดำเนินการทวงหนี้แทนให้
ศาลชี้ “กรมเจ้าท่า” สร้างเขื่อนกันทราย-คลื่นสงขลาผิด กม.สั่งทำ EIA ภายใน 60 วัน

ศาลปกครองสงขลาพิพากษาคดีชาวบ้านสะกอม และเจ้าของรีสอร์ต ฟ้องกรมเจ้าท่า 2 คดี จากผลกระทบในการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่น แล้วทำให้ชายหาดถูกกัดเซาะ ทรัพย์สินเสียหาย และชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์ทั้งบนบก-ทะเลได้ดังเดิม ชี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในขั้นตอนและวิธีการ สั่งกรมเจ้าท่าทำ EIA ภายใน 60 วัน และหากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่ฟ้องแล้วให้แก้ไขภายใน 30 วัน ด้านชาวบ้านเตรียมอุทธรณ์ ขอผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นและให้ศาลประเมินความเสียหายแก่ชาวบ้าน